ปัญหาหลัก

1. ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินน้อยกว่า 1.5 % มีพื้นที่ร้อยละ 69.85 ของพื้นที่

ทั้งจังหวัด หรือประมาณ 926,440 ไร่

    • ดินเปรี้ยวจัดมากหรือเป็นกรดจัดมาก( มีปฏิกิริยาความเป็นกรดเป็นด่าง 4.0-5.0) และมีปริมาณ

อินทรียวัตถุในดินบนชั้นล่าง น้อยกว่า 1.5 % คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 41.78 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด หรือ

ประมาณ 554,091 ไร่ โดยแยกเป็น

1.1.1 รุนแรงมาก 15.16 % หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 201,104 ไร่

1.1.2 รุนแรงปานกลาง 23.26 % หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 308,541 ไร่

1.1.3 รุนแรงน้อย 3.35 % หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 44,446 ไร่

1.2 ดินมีอินทรียวัตถุน้อยกว่า 1.5 % มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีพื้นที่ร้อยละ 16.42 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด

หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 217,821 ไร่

1.3 ดินมีอินทรียวัตถุในดินล่างน้อยกว่า 1.5 % มีพื้นที่ร้อยละ 11.65 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด หรือคิดเป็น

พื้นที่ประมาณ 154,528 ไร่

2. ดินมีความลาดเทสูง มีการชะล้างพังทลายของดินสูง มีพื้นที่ร้อยละ 30.15 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด หรือคิดเป็น

พื้นที่ 399,810 ไร่

ปัญหารอง

ดินตื้น อาจมีกรวดเศษหินปะปน มีพื้นที่ร้อยละ1.86 ของพื้นที่ทั้งจังหวัดหรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 24,711 ไร่

พื้นที่ที่จะต้องอนุรักษ์ไว้เป็นป่า ต้นน้ำลำธาร ประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 397,875 ไร่

 

หมายเหตุ

การปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดสามารถดำเนินการได้ผลในระยะสั้น หรือเรียกได้ว่าปรับปรุงได้ทันที และจำเป็นต้องดำเนินการก่อนการดำเนินการอื่น ๆ หากจะทำการเกษตรกรรม ส่วนการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ

จำเป็นต้องเร่งดำเนินการเช่นเดียวกัน แต่จำเป็นต้องดำเนินการใส่ในปริมาณมาก 1-3 ตัน/ ไร่/ ปี อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3-4 ปี หลังจากนั้นก็ยังจำเป็นต้องรักษาปริมาณอินทรียวัตถุในดินไว้ในทุกรูปแบบรวมทั้งต้องคอยเพิ่มเติมอินทรียวัตถุส่วนที่ ขาดให้แก่ดินอยู่เสมอด้วย เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ในลักษณะการเกษตรยั่งยืน